fbpx

"ทุกศักยภาพของมนุษย์
SEEN พิสูจน์ได้จริง"

Ability to be seen

Sound of SEEN

Dimensions of SEEN Assessment

กระบวนการ Design Assessment

ขั้นตอนที่ 1: Competency Blueprint Design
ในขั้นตอนนี้, เราจะเริ่มสร้าง “Competency Blueprint” โดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย มาใช้ในการกำหนดความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการประเมิน ประกอบการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แผนผังนี้ครอบคลุมและตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 2: Assessment Design
เมื่อมีแผนผังความรู้และทักษะแล้ว, ขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบการประเมิน ในขั้นตอนนี้ เราจะกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการประเมิน สร้างข้อสอบหรือโจทย์ที่สอดคล้องกับความรู้และทักษะที่ได้กำหนดไว้ในแผนผัง เลือกรูปแบบของการประเมินที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 3: Assessment Tryout

ในขั้นตอนนี้, เราจะทดลองใช้การประเมินที่ได้พัฒนามากับกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อดูว่ามีปัญหาหรือจุดที่ต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง รับฟีดแบ็คจากผู้ทดสอบเพื่อให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาการประเมินให้ดียิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 4: Revise
หลังจากทดลองใช้แล้ว, เราจะทบทวนผลและคำแนะนำที่ได้รับ เพื่อนำมาปรับปรุงการประเมินให้เหมาะสมและแม่นยำยิ่งขึ้น ในขั้นตอนนี้, เราอาจต้องทำการแก้ไขข้อสอบหรือโจทย์ และทดลองใช้ใหม่อีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าการประเมินที่ได้นั้นมีความเชื่อถือและความถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 5: Launch Assessment

ในขั้นตอนสุดท้าย, เราจะเริ่มนำการประเมินที่ได้พัฒนามาใช้จริง นอกจากการทบทวนและตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว เรายังต้องเตรียมดำเนินการประเมิน และติดตามผลการใช้งานเพื่อให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาการประเมินในอนาคตได้

Frequently Asked Questions(FAQs)

SEEN สามารถป้องกันการโกงข้อสอบได้หรือไม่

        SEEN สามารถป้องกันการโกงข้อสอบได้ด้วย ระบบ Anti Cheating การป้องกันการโกงในการทดสอบออนไลน์เป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งสามารถช่วยป้องกันการโกงได้ด้วยฟีเจอร์ต่อไปนี้

  1. การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงหน้าจอ : ผ่านการบันทึกหน้าจอ, สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงหรือการเปิดโปรแกรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ ซึ่งสามารถเป็นสัญญาณของการโกง
  2. การบันทึกด้วยกล้องหน้า : การบันทึกภาพด้านกล้องหน้า เพื่อตรวจสอบว่าผู้ทดสอบเป็นคนเดียวกันหรือไม่
  3. การบันทึกเวลา : บันทึกเวลาที่ใช้ในแต่ละข้อ เพื่อตรวจสอบว่ามีการใช้เวลาที่ไม่ปกติในการทำข้อสอบหรือไม่
  4. ความปลอดภัย : ผู้ทดสอบเข้าถึงหน้าการทดสอบด้วยการยืนยันตัวตนด้วยระบบ OTP จากเบอร์โทรศัพท์
  5. การตรวจสอบหลังการทดสอบ : วิดีโอที่บันทึกจากหน้าจอในการตรวจสอบหลังจากการทดสอบ เพื่อตรวจสอบว่ามีการโกงหรือไม่
การป้องกันการตอบตามที่สังคมคาดหวังทำได้อย่างไร (Social Desirability Bias)

        ปัญหา “Social Desirability Bias” หรือ ความโน้มเอียงที่ผู้ตอบจะตอบคำถามตามที่คิดว่าสังคมหรือผู้วัดจะต้องการ ในแบบสอบถามประเภท Likert scale มีการป้องกันด้วยกระบวนการดังนี้:

  1. การออกแบบคำถามที่รัดกุม: ในขั้นตอนการสร้างคำถามมีเกณฑ์การพิจารณาหนึ่งคือ ประเด็นทางสังคมที่ไม่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกว่ามีความคาดหวังหรือเรื่องใหญ่ทางสังคมที่ต้องปฏิบัติตาม
  2. ใช้คำถามเชิงความถี่: ใช้คำถามที่ถามถึงความถี่ของพฤติกรรมหรือความคิดเห็น ซึ่งสามารถช่วยลด bias ที่จะตอบตามที่สังคมคาดหวัง
  3. การใช้คำถามตรวจสอบ (Control Questions): ใส่คำถามที่สามารถใช้เป็นตัวตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบในแบบสอบถาม
  4. การให้คำแนะนำที่ชัดเจน: ปรากฎคำแนะนำกับผู้ตอบในหน้าก่อนเข้าแบบทดสอบ ให้ตอบคำถามตามความจริงของตัวเอง ไม่ต้องพยายามที่จะประสบความนิยมหรือตอบตามที่คิดว่าคนอื่นๆ ต้องการ
  5. การทดสอบแบบสอบถาม: ทดสอบแบบสอบถามกับกลุ่มเล็ก ๆ ก่อนจะใช้กับกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เพื่อประเมินและปรับปรุงคำถามที่มีโอกาสทำให้เกิด Social Desirability Bias

SEEN ASSESSMENT DIMENSIONS

กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ (Validation Process)

กลุ่มของตัวอย่างอ้างอิงในการพัฒนาแบบทดสอบ (Sample Size)

        เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้หลักของ SEEN แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวัยเรียน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และกลุ่มวัยทำงาน ที่ทำงานอยู่ภายในองค์กรต่าง ๆ ที่เข้ามาใช้แบบทดสอบของ SEEN ซึ่งข้อสอบกลางของ SEEN จะวัดคุณค่าที่ยึดถือ (Value) และสมรรถนะความสามารถ (Competency) โดยทั่วไปซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทุกคนในทุกช่วงวัยสามารถทดสอบร่วมกันได้ แต่หากต้องการข้อสอบที่มีการวัดเฉพาะกลุ่มก็สามารถออกแบบและทดลองใช้กับกลุ่มดังกล่าวโดยเฉพาะได้เช่นเดียวกัน

วิธีการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ (Validation Method)

       การวิเคราะห์และตรวจสอบความเหมาะสมของข้อสอบ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

     1) ช่วงการพัฒนาข้อสอบ
        ในช่วงการพัฒนาข้อสอบรูปแบบต่าง ๆ หลังจากที่ทำการศึกษาข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูล กำหนดนิยามของสิ่งที่ต้องการวัด แล้วทำการสร้างข้อสอบชุดแรกขึ้นมาแล้ว จะนำข้อสอบชุดแรกไปให้ผู้เชี่ยวชาญของ BASE Playhouse จำนวน 3 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการทำงานและการจัดการธุรกิจ ด้านจิตวิทยา และด้านการวิจัย การวัดและประเมินผล พิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า Index of item objective congruence หรือเรียกโดยย่อสั้น ๆ ว่า IOC เป็นการหาค่าความสอดคล้องรายข้อของแบบทดสอบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณา ซึ่งเป็นการพิจาราณาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ในการทดสอบในแบบทดสอบ 

รายละเอียดความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับวัตถุประสงค์ของการทดสอบ และความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ในการทดสอบ
วิธีการตรวจสอบ

ดัชนีของความสอดคล้องกันระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับจุดประสงค์ (Index of item objective congruence: IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คนประเมินความสอดคล้อง จากเกณฑ์

-1 คือ ข้อสอบนั้นวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

0 คือ ไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตรงกับวัตถุประสงค์

1 คือ ข้อสอบนั้นวัดได้ตรงกับวัตถุประสงค์

เกณฑ์การประเมินข้อสอบข้อนั้นได้คะแนนประเมินเฉลี่ยมากกว่า 0.5 คะแนน เป็นข้อสอบที่เหมาะสม หากได้คะแนนต่ำกว่า 0.5 ให้ปรับปรุงข้อคำถาม 
ใช้กับรูปแบบคำถามข้อสอบทุกข้อที่วัดความรู้ ความสามารถ เช่น Rating Scale, Multiple Choice, ข้อสอบแบบเขียนคำตอบ (Essay)

     2) ช่วงหลังการนำข้อสอบไปทดลองใช้ (Tryout)
        หลังจากนำแบบทดสอบไปทดลองใช้แล้วจึงนำคำตอบที่ได้มาวิเคราะห์ความตรงและความเที่ยง สำหรับข้อสอบแบบ Rating Scale โดยที่ความตรง (Validity) เป็นการตรวจสอบว่าแบบทดสอบสามารถวัดได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ ในขณะที่ความเที่ยง (Reliability) เป็นความคงเส้นคงวาของแบบทดสอบในการวัด โดยเมื่อใช้แบบทดสอบเดิมวัดผลสิ่งเดิมหลายครั้ง สามารถให้ผลลัพธ์ที่คงที่เหมือนเดิม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์

รายละเอียด

ความตรงเชิงโครงสร้าง

(Construct Validity)

ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน (Internal Consistency)
วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อที่เป็นมิติของตัวแปรทางจิตวิทยาที่ต้องการวัดเพื่อตรวจสอบความคงที่ของแบบทดสอบ โดยพิจารณาภายในชุดข้อสอบฉบับนั้นเทียบกัน
วิธีการตรวจสอบ

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory Factors Analysis: CFA)

วิเคราะห์ผ่านโปรแกรม R ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ทางสถิติ

โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) วิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Jamovi

เกณฑ์

การประเมิน

โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคมากกว่า 0.7 ขึ้นไป
ใช้กับคำถามคำถาม Rating Scaleคำถาม Rating Scale

        สำหรับคำถามที่วัดความรู้หรือความสามารถที่สามารให้คะแนนและบอกได้ว่าข้อใดที่ผู้ทำแบบทดสอบตอบถูก หรือข้อใดที่ผู้ทำแบบทดสอบตอบผิด จะนำมาวิเคราะห์หาค่าความยาก (Difficulty) เพื่อพิจารณาว่าข้อสอบข้อนี้มีความยากเหมาะสมกับกลุ่มผู้ทดสอบหรือไม่ โดยจะใช้ข้อสอบที่ไม่ยากจนเกินไปและไม่ง่ายจนเกินไป และพิจารณาว่าข้อสอบนั้นมีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) สามารถจำแนกได้ว่าคนใดเป็นคนกลุ่มสูงที่มีคะแนนสูง หรือคนใดเป็นคนกลุ่มต่ำที่มีคะแนนต่ำ หมายถึงสามารถแยกคนเก่งกับคนอ่อนได้ชัดเจน

รายละเอียดความยาก (Difficulty)อำนาจจำแนก (Discrimination)
วัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาว่าข้อสอบข้อนี้มีคนตอบถูกต้องมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับจำนวนคนทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าข้อสอบข้อนี้สามารถจำแนกคนในกลุ่มคะแนนสูง กับคนในกลุ่มคะแนนต่ำออกจจากกันได้หรือไม่
วิธีการตรวจสอบอัตราส่วนของคนที่ตอบแบบทดสอบถูกกับจำนวนคนที่ตอบทั้งหมดผลต่างของจำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูงกับจำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ หารด้วยจำนวนคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ

เกณฑ์

การประเมิน

ค่าความยากควรอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 โดยที่ค่ายิ่งมีค่าน้อยแปลว่าข้อสอบข้อนั้นยาก และค่าความยากยิ่งมาก แปลว่าข้อสอบนั้นยิ่งง่ายค่าอำนาจจำแนกควรมีค่า 0.2 ขึ้นไป แปลว่า ข้อสอบนั้นสามารถจำแนกกลุ่มคนที่ได้คะแนนสูงกับกลุ่มคนที่ได้คะแนนต่ำได้อย่างดี
ใช้กับคำถามคำถาม Multiple Choice คำถาม Multiple Choice

        นอกจากนี้ข้อคำถามที่มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบ (Essay) และข้อสอบแบบอัดวิดีโอ (Video) เพื่อตอบคำถาม ซึ่งข้อสอบลักษณะนี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจให้คะแนน ซึ่งการตรวจให้คะแนนพิจารณาจากเกณฑ์การให้คะแนน (Rubric Score) ซึ่งเกิดจากการรวมกันระหว่างเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Criteria) ที่เป็นรายละเอียดที่ผู้ทดสอบตอบว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับใด กับมาตราประมาณค่า (Scoring Scale) เพื่อระบุความแตกต่างของคำตอบหรือสมรรถนะที่ผู้ทดสอบแสดงออกมาว่าควรได้คะแนนระดับใด โดยที่ในแต่ละครั้งอาจมีผู้ตรวจมากกว่า 1 คน แต่เพื่อให้การให้คะแนนเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงมีการวิเคราะห์ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (Inter-Rater Reliability) ว่าผู้ประเมินที่ตรวจให้คะแนนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ให้คะแนนสอดคล้องกันหรือไม่ เพื่อให้การให้คะแนนมีมาตรฐานเดียวกัน

อ้างอิง
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12. Reference

Assessment Structure

โครงสร้าง Assessment เป็นอย่างไร

        SEEN Footprint ถูกออกแบบมาเพื่อวัดทักษะ Soft Skill ซึ่งเป็นทักษะทางอารมณ์และสังคม รวมถึงความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานและการทำงานจริงร่วมกับผู้อื่น โดยการวัดทักษะ Soft Skill เป็นแนวทางที่องค์กรใช้เพื่อวัดความสามารถของแต่ละบุคคลในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบภายใต้บทบาทหรือบริบทเฉพาะของตำแหน่งงาน 

        SEEN Footprint ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัดทักษะ Soft Skill จากองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ความสามารถ (Skill) ความรู้ (Knowledge) และทัศนคติ (Mindset) ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความสามารถโดยรวมของแต่ละบุคคล ดังนี้

        ความสามารถ (Skill) คือ การใช้ความรู้หรือทักษะความสามารถที่มีอยู่ในตัว อาจเกิดจากการฝึกฝน หรือความถนัดมาใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินความสามารถหรือทักษะจะประเมินจากการ Perform หรือการนำเอาความรู้มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินได้โดยให้ผู้ทำแบบทดสอบจำลองการใช้ทักษะและให้คะแนนเป็นรายบุคคล

        ความรู้ (Knowledge) คือ ความรู้พื้นฐานหรือความเข้าใจในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสายงานนั้น ๆ ซึ่งอาจรวมถึงความเข้าใจในทักษะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาหรือแม้กระทั่ง ประสบการณ์ต่าง ๆ สำหรับ Soft Skill ความรู้ยังรวมถึงการตระหนักรู้ในการปรับตัว การสื่อสาร และการคิดวิเคราะห์อีกด้วย

        ทัศนคติ (Mindset)  ทัศนคติมีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมจากภายใน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ซึ่งเป็นลักษณะภายในที่ติดตัวแต่ละบุคคลนั้น เช่น ความรู้สึก เจตคติ ทัศนคติ แรงจูงใจ การประเมินทัศนคติเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาการปรับตัวและการขับเคลื่อนความสามารถภายในตัวบุคคล

        จากขอบเขตของการประเมินความสามารถ ทั้งสามองค์ประกอบรวมกัน ได้แก่ ความสามารถ (Skill) ความรู้ (Knowledge) และทัศนคติ (Mindset) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการประเมินความสามารถด้าน Soft Skill อย่างครอบคลุม โดย SEEN Footprint ช่วยส่งเสริมความเข้าใจแบบองค์รวมเกี่ยวกับความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลรอบด้านเกี่ยวกับการสรรหาและการพัฒนาพนักงานในองค์กร ด้วยการปรับการประเมินให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะที่เป็นปัญหา SEEN Footprint ช่วยให้มั่นใจได้ว่าองค์กรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ลึกที่เกี่ยวกับทักษะด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

Mechanics ของ Test มีอะไรบ้าง

        SEEN Footprint คือแบบทดสอบความถนัดที่วัดทักษะที่จำเป็น เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการออกแบบนวัตกรรม โดยสามารถวัดทักษะด้านอารมณ์ตามความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่ทำให้ผู้สมัครแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ SEEN ลดความซับซ้อนของการประเมินทักษะเพื่อสรรหาบุคคลากรที่มีคุณภาพ โดยใช้กลไกที่หลากหลายในการประเมินทักษะของผู้สมัคร ได้แก่ Choice, Check Box, Essay, Multiple Essay, Video Prompt Recording, Rating Scale, Ranking, Matching, Drag and drop  และ File Upload ซึ่งช่วยประเมินทักษะทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้สมัครทั้งได้อย่างครอบคลุม

        Choice and Check Box Mechanics : เป็นกลไกที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้สามารถประเมินทักษะของผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลไกนี้ช่วยประเมินความรู้ของผู้สมัครเกี่ยวกับความรู็และทักษะเฉพาะ รวมถึงความสามารถในการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาจากการเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

        Essay and Multiple Essay Mechanics : เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้สมัครตอบคำถามได้อย่างละเอียด เชิงลึกและครอบคลุม ซึ่งช่วยให้ผู้สมัครสามารถแสดงความรู้ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะในการสื่อสารความคิดอย่างชัดเจน การจัดระเบียบข้อมูลอย่างมีเหตุผล และการถ่ายทอดความคิดที่ซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร

        Video Prompt Recording Mechanics : กลไกการบันทึกวิดีโอช่วยให้ผู้สมัครสามารถบันทึกและแสดงความสามารถผ่านกการสื่อสารทางคำพูด รวมถึงความชัดเจน ความมั่นใจ และความสามารถในการถ่ายทอดความคิด และให้ผู้สมัครสามารถนำเสนอตนเองอย่างมืออาชีพผ่านรูปแบบวิดีโอ

        Rating Scale Mechanics: กลไกมาตราส่วนการให้คะแนนเป็นกลไกมาตรฐานที่ช่วยให้ผู้สมัครมีการประเมินความสามารถของตนเอง สำหรับการประเมินทักษะ ความตระหนักรู้ ทัศนคติ และความสามารถของตนเองอย่างแม่นยำ

        File Upload Mechanics: กลไกการอัปโหลดไฟล์ช่วยให้ผู้สมัครสามารถแสดงความสามารถผ่านการอัปโหลดตัวอย่างงาน โครงการ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องผลงานของตนเอง เช่น การเขียนตัวอย่างงานหรือการนำเสนอ ตลอดจนความสามารถในการผลิตชิ้นงานคุณภาพสูง

        Ranking Mechanic & Matching Mechanic:: เป็นกลไกที่ให้ผู้สมัครสามารถจัดลำดับและจับคู่คำตอบของตนเองได้อย่ารวดเร็ว ช่วยลดขั้นตอนในการทำแบบทดสอบและเพิ่มความแม่นยำในการประเมินความรู้และทักษะการตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นทักษะสำคัญของผู้นำรวมถึงในการทำงาน

        Drag and drop: กลไกการทำแบบประเมินที่เป็นมิตรแก่ผู้สมัคร ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำแบบทดสอบที่แตกต่างไปจากเดิม โดยผู้สมัครสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาแบบทดสอบ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งสำหรับการประเมินทักษะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลองค์กรหรือการจัดการข้อมูล

        ด้วยกลไลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ SEEN จึงเป็นมากกว่าเครื่องมือในการประเมินบุคลากรแต่เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถผ่านกลไกการประเมินที่หลากหลายช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้สมัครจะได้รับการประเมินแบบครอบคลุมทั้ง ความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จำเป็นต่อการทำงาน

ที่มาของ Talent Competency มาจากไหน

        ในตลาดการทำงานที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง HR ยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องในการระบุและบ่มเพาะผู้มีความสามารถระดับสูงภายในองค์กร (Talent) SEEN จึงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อปฏิวัติการสรรหาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาผู้มีความสามารถ ภารกิจของ SEEN คือการเสริมศักยภาพให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลด้วยข้อมูลความสามารถเชิงลึกโดยดึงมาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้แก่ การสืนค้นงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ การจัด Hackathon Talent Pool และ กลุ่ม Talent ภายในองค์กร เพื่อคัดกรองทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการประเมินทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน

การสืนค้นงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ

        SEEN ได้ทำการสืนค้นงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ (Secondary research) โดยการเข้าถึงแหล่งข้อมูลระดับโลกที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งสถาบันการศึกษา (Academic Institutions) สิ่งพิมพ์ในอุตสาหกรรมชั้นนำ (Industry Publications) รายงานตลาด (Market Reports) และการสำรวจที่จัดทำโดยองค์กรที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้การวิจัยทางวิชาการมีบทบาทสำคัญในการกำหนดรูปแบบการประเมิน ด้วยการใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยและทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ (Behavioral Theories) ทฤษฎีพื้นฐานทางจิตวิทยา (Psychology Theories) และ ทฤษฎีทางประสาทวิทยา (Neuroscience) อีกทั้งยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและนักวิชาการชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินทักษะ Soft Skills ที่เกี่ยวข้องกับทักษะและความสามารถภายในตัวบุคคล การสืนค้นงานวิจัยทำให้เข้าใจทักษะที่จำเป็นอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับความต้องการทักษะ Soft Skill ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมและตลาดงานที่หลากหลาย รวมทั้งการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลเทรนด์ล่าสุดอย่างต่อเนื่องเพื่อระบุการเปลี่ยนแปลงของความต้องการทักษะด้านอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานในปัจจุบัน

Hackathon Pool

        ในปัจจุบันการจัด Hackathon ได้กลายเป็นเวทีสำหรับการค้นพบผู้มีความสามารถ (TaLent) ผู้เข้าร่วมใน Hackathons จำเป้นต้องใช้ความสามารถต่าง ๆ ในการทำงานภายใต้สภาวะกดดันสูง โดยมักจะแสดงทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดย SEEN จะประเมินประสิทธิภาพของบุคคลเหล่านี้ โดยประเมินข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทักษะ Soft Skill และศักยภาพในการประสบความสำเร็จ

        SEEN มีมีบทบาทในการประเมินประสิทธิภาพของผู้เข้าร่วมในสภาพแวดล้อมที่มีแรงกดดันสูง และคัดเลือกผู้เข้าร่วม Hackathon พร้อมทั้งประเมินความสามารถระหว่างการทำกิจกรรม อีกทั้งรวมรวมข้อมูลที่ไม่เพียงแต่ผลลัพธ์ของความพยายามของผู้เข้าร่วมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพฤติกรรมของบุคคลและทีม เช่น วิธีการทำงานร่วมกัน ความสามารถในการปรับตัว และ การนำเสนอแนวคิด ออกมาเป็นรายงานทักษะ (Report) ที่ระบุจุดแข็งและทักษที่ควรพัฒนา

        ข้อมูล Hackathon ยังช่วยให้ SEEN สามารถสร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับทักษะ Soft Skill ที่แตกต่างกันโดยพิจารณาจากประสิทธิภาพของผู้เข้าร่วม เกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้ HR สามารถวัดความสามารถของผู้สมัครและพนักงานที่มีอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับบุคลากรที่มีศักยภาพในการเป็น Talent ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันและแรงกดดันสูง

กลุ่ม Talent ภายในองค์กร

        SEEN ทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรและ HR เพื่อระบุวัตถุประสงค์หลักและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถและค้นหา Talent โดย SEEN ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลของแต่ละองค์กรโดยการระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงภายในองค์กร (Talent) และใช้เครื่องมือ SEEN ในการประเมินทักษะด้านอย่างครอบคลุมของพนักงานแต่ละคนออกมาในรูปแบบของรายงานความสามารถ (Report) สำหรับพนักงานแต่ละคนซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจุดแข็งและขอบเขตสำหรับการพัฒนาทักษะ Soft Skills ต่าง ๆ ซึ่งอิงจากการประเมินพนักงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ SEEN และ องค์กรเพื่อสำหรับเป็นจุดอ้างอิงในการประเมินทักษะ Soft Skills เมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่น ๆ ก็จะพบว่าทักษะใดคือทักษะที่สำคัญสำหรับ Talent และทักษะใดคือจุแแข็งหรือจุดที่ควรพัฒนาสำหรับพนักงาน